อธิการมทร.ธัญบุรี วอนอุดมศึกษาทบทวนเปิด-ปิดตามอาเซียน

0
1900
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี มีความประสงค์รับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 101 อัตรา โดยแบ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ 68 อัตรา วุฒิปริญญาโทจำนวน 29 อัตรา ปริญญาเอกจำนวน 39 อัตรา ได้แก่ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จำนวน 5 อัตรา คณะเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 1 อัตรา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จำนวน 5 อัตรา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 5 อัตรา คณะบริหารธุรกิจ จำนวน 14 อัตรา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 11 อัตรา คณะศิลปกรรมศาสตร์ 2 อัตรา คณะศิลปศาสตร์ 9 อัตรา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 6 อัตรา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 5 อัตรา และวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย จำนวน 2 อัตรา สายสนับสนุน 33 อัตรา วุฒิพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนั

รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า ในช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูร้อนส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 20% และเชื่อว่าเดือน เม.ย.นี้ ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งนอกจากเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมของมหาวิทยาลัยแล้ว ในส่วนของนักศึกษาเอง อากาศที่ร้อนจัดก็ได้ส่งผลกระทบต่อการเรียนเช่นกัน แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะใช้เครื่องปรับอากาศทุกห้องก็ตาม แต่การใช้ชีวิตประจำวันซึ่งบางรายวิชาต้องมีการเรียนข้ามอาคารและต้องทนต่อสภาพอากาศ ทำให้นักศึกษาขาดสมาธิต่อการเรียน ขณะที่อาจารย์ผู้สอนเอง เชื่อว่าในบางครั้งอาจจะหงุดหงิดกับสภาพอากาศ และส่งผลต่อการสอนเช่นกัน

“หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ก่อนที่มหาวิทยาลัยจะเปิด-ปิดเรียนตามอาเซียน ค่าไฟฟ้าจะอยู่ในระดับที่ต่ำ เพราะในช่วงเดือน มี.ค.-มิ.ย.จะเป็นช่วงปิดเทอม แต่พอมาเปิด-ปิดตามอาเซียนเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนมากจึงทำให้อัตราการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นมาก เชื่อว่าแต่เดิมที่มีแนวคิดให้มีการปิดเทอมในช่วงฤดูร้อน เพื่อให้นักศึกษาได้ปิดพักอยู่บ้าน ดังนั้น จึงต้องมาทบทวนว่าการเปิด-ปิดตามอาเซียนนั้น ได้เอื้อประโยชน์ต่อการให้คนในอาเซียนมาเรียนอย่างที่มีการคาดการณ์กันจริงหรือไม่ รวมถึงต้องทบทวนผลกระทบด้านกายภาพ ว่าอากาศที่ร้อนมีผลต่อการเรียนหรือไม่ด้วย” อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าว

รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามตนไม่อยากเห็นการปิด-เปิดเทอมของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยเปิด-ปิดเป็นสองระบบ กระทรวงศึกษาธิการ ควรทบทวนในเรื่องนี้ เพราะนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ส่วนใหญ่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่เมื่อมหาวิทยาลัยขยับเปิดเทอมออกไปตามอาเซียน ทำให้เด็กมีเวลาว่างมากและไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ แม้ในส่วนของ มทร.ธัญบุรี จะมีการเปิดสอนปรับวิชาพื้นฐานก่อนเข้าเรียน 2 เดือน แต่ในหลายมหาวิทยาลัยไม่มีการดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งหากมองผลระยะยาวควรมีการพิจารณาอย่างจริงจัง โดยควรต้องเลือกให้มีการเปิด-ปิดการปิดอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ส่วนตัวคิดว่าหากขยับกลับมาแบบเดิมน่าจะเอื้อประโยชน์มากกว่า เพราะนอกจากจะเกิดประโยชน์ในหลายๆเรื่องแล้ว ยังเอื้อต่อนักศึกษาที่จบระดับปริญญาจะไปศึกษาต่อปริญญาโท หรือปริญญาเอกในต่างประเทศด้วย เพราะนักศึกษาจะได้มีโอกาสเรียนภาษาเพิ่มเติมก่อนการเปิดเรียนถึง 3 เดือน สามารถปรับตัวพร้อมเข้าเรียนได้

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.