เกษตร เตือน การระบาดของด้วงเจาะผลสละ

0
2085

กรมวิชาการเกษตร ประกาศแจ้งเตือนว่า จากสภาพอากาศแปรปรวนในช่วงหน้าร้อน โดยบางครั้งมีฝนตก อากาศร้อนชื้น จึงขอให้สวนสละเฝ้าระวังการระบาดของด้วงเจาะผลสละ มักพบในระยะต้นสละออกดอกและติดผล ซึ่งเกษตรกรจะไม่สามารถสังเกตการเข้าทำลายของด้วงเจาะผลสละจากภายนอกได้ จึงควรป้องกันการทำลายโดยการห่อผลสละด้วยถุงผ้ามุ้ง ถุงปุ๋ย หรือถุงพลาสติกที่เคลือบสารคลอร์ไพริฟอส 1% และเริ่มห่อผลสละตั้งแต่อายุ 6 เดือน หรือพ่นด้วยสารพิริมิฟอส-เมทิล 50% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโคลไทอะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นตั้งแต่ผลสละอายุ 6 เดือน จนกระทั่งเก็บเกี่ยว ทุก 15 วัน

สำหรับโรคที่พบในช่วงนี้ คือ โรคใบจุด และโรคผลเน่า ซึ่งโรคใบจุดจะมีอาการเริ่มแรกเกิดจุดแผลสีเหลืองออนขนาดเท่าหัวเข็มหมุด และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีวงสีเหลืองลอมรอบแผลขยายออกลักษณะคอนขางกลม หากพบโรคเริ่มระบาดให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง อาทิ สารโพรพิโคนาโซล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะซอกซีสโตรบิน+ไดฟีโนโคนาโซล 20%+12.5% เอสซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่น 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน

นอกจากนี้ เกษตรกรควรติดตามเฝ้าระวังโรคผลเน่า มักพบโรคในช่วงที่มีความชื้นสูง เปลือกผลสละจะมีสีน้ำตาล เกิดเชื้อราเส้นใยสีขาวหรือขาวอมชมพู โดยเส้นใยจะแทงทะลุเปลือกเข้าไปในผลสละ ทำให้เปลือกเปราะ แตก เนื้อด้านในผลสละเน่า และผลร่วง หากเชื้อราเจริญเต็มที่จะสร้างดอกเห็ดสีขาว เมื่อดอกเห็ดบานจะปล่อยสปอร์แพร่กระจายไปสู่ผลสละทลายอื่นๆ ได้

หากพบการระบาดของโรคผลเน่า ให้เกษตรกรตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เก็บเศษซากพืชและผลร่วงใต้ต้นที่เป็นโรคออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และควรตัดแต่งทางใบแก่หมดสภาพที่อยู่ด้านล่างๆ ให้อากาศถ่ายเท เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคและความชื้นใต้ทรงพุ่มไม่ให้มีมากเกินไป และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง อาทิ สารไพราโคลสโตรบิน 25% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารทีบูโคนาโซล+ไตรฟลอกซีสโตรบิน 50%+25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่น 2 ครั้ง พ่นครั้งแรกก่อนการเก็บเกี่ยวผลสละ 2 เดือน และพ่นครั้งที่ 2 ห่างกัน 7 วัน

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.