โครงสร้างเขื่อนแข็งแรง รองรับแผ่นดินไหวสูงระดับ 7

0
2330

รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก หน่วยวิจัยธรณีวิศวกรรมแผ่นดินไหว ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงความเสี่ยงภัยเกิดแผ่นดินไหวนุนแรงขนาด 7.5 กับเขื่อนในประเทศไทย ว่า ประเทศไทย มีเขื่อนประมาณ 5,000 เขื่อน แบ่งเป็น เขื่อนขนาดเล็กกว่า 4,000 แห่ง  เขื่อนขนาดกลางและขนาดใหญ่อีกกว่า 200 แห่ง ซึ่งก่อนการก่อสร้างเขื่อนทุกครั้งจะสำรวจขุดเปิดฐานรากในช่วงกลางแม่น้ำของตัวเขื่อนว่ามีรอยเลื่อนมีพลังหรือไม่ และมีโครงสร้างที่รองรับการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 โดยทุกเขื่อนจะมีเครื่องมือแจ้งเตือนการเกิดแผ่นดินไหว กรณีทำให้เขื่อนพังเกิดได้ 3 รูปแบบ คือ น้ำล้นเขื่อนที่เกิดจากแรงกดของน้ำที่มากเกินไป เกิดจากน้ำซึมหรือมีรอยรั่ว และเกิดจากดินถล่ม ซึ่งจากสถิติของเขื่อนที่จะพังเกิดขึ้นในช่วง 1-5 ปี เพราะเป็นช่วงแรกของการรองรับน้ำจำนวนมากเมื่อผ่านไปถือว่าจะโครงสร้างเขื่อนมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญต้องบำรุงรักษาต่อเนื่อง ในส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ที่พังจากแผ่นดินไหวมีเพียงเขื่อนเดียวในโลก คือ เขื่อนที่ประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดสึนามิเมื่อปี 2554 และเป็นเขื่อนที่สร้างมานานแล้ว

สำหรับเขื่อนในไทย โดยเฉพาะเขื่อนวชิราลงกรณ์และเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ที่หลายคนกังวล พบว่า การก่อสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ ได้อัดทับด้วยหินและปูทับด้วยคอนกรีต ส่วนเขื่อนศรีนครินทร์ ได้บดอัดด้วยดินเหนียวครั้งละ 5 เซนติเมตร และทับถมครบ 100 เมตร รวมทั้ง ได้สำรวจและจำลองแรงสั่นสะเทือนขนาด 7 พบว่า เกิดการทรุดตัวในแนวดิ่งประมาณ 80 เซนติเมตร แต่โครงสร้างของเขื่อนก่อสร้างรองรับกรณีการทรุดตัวอยู่แล้ว หากแผ่นคอนกรีตแตกจะเกิดความเสียหายแค่น้ำไหลซึมออกจากเขื่อน แต่ไม่ทำให้เขื่อนแตกได้ขอให้ประชาชนสบายใจ แต่กังวลในส่วนของอาคารล้านเรือนประชาชนจะเสียหายจากแผ่นดินไหวได้ จึงขอให้อย่าสร้างในพื้นที่มีรอยเลื่อน

หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก หน่วยวิจัยธรณีวิศวกรรมแผ่นดินไหว ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงโครงสร้างอาคารบ้านเรือน ว่า ช่วง 10 – 20 ปีที่ผ่านมา ไทยได้ปรับโครงสร้างอาคารบ้านเรือนให้รองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวมากขึ้น ยกเว้นอาคารบ้านเรือนที่สร้างมาเกือบ 30 ปีขึ้นไปควรปรับปรุงโครงสร้างเพื่อรองรับกับการสั่นไหว เช่น กรณีเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ที่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย เมื่อปี 2557 ถือเป็นแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 100 ปีของไทย เห็นได้ว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นอาคารบ้านเรือนและวัด พังทลายเสียหายมาก เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่สร้างมานานและไม่ได้รองรับการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
ส่วนพื้นที่น่าเป็นห่วง 1 แห่ง คือ บ้านดอยช้าง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ที่มีประชาชนประมาณ 2,000 ครัวเรือน ตั้งบ้านเรือนอยู่เชิงเขาในพื้นที่เสี่ยงต่อการสไลด์ของดินที่มีการเคลื่อนตัวประมาณปีละ 50 เ่ซนติเมตร ขณะนี้ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยของประเทศญี่ปุ่นศึกษาวิจัยพื้นที่มีความเสี่ยง การติดตั้งท่อก๊าซ และเสาไฟฟ้าแรงสูงด้วย เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป
728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.