“ราชทัณฑ์”…ฉีดยาพิษ “ประหาร”นักโทษรายแรกในรอบ 9 ปี

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนไว้ ซึ่งระบุว่า หากครบ 10 ปี ยังไม่มีการประหารชีวิตเกิดขึ้นภายในประเทศ ให้ถือว่าโทษประหารในประเทศไทยถูกยกเลิกไป ดังนั้นจึงเป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง

0
1142

ราชทัณฑ์ ประหารนักโทษฆ่าชิงมือถือ หลังห่างจากโทษประหารไปนาน นับจากปี 52

รายแรกในรอบ 9 ปี ราชทัณฑ์ฉีดยาพิษ“ประหาร”นักโทษ คดีฆ่าชิงมือถือแทงเหยื่อ24แผล

พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ประหาร2

“อธิบดีกรมราชทัณฑ์” ยังเปิดเผยต่อไปว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2478 ถึงปัจจุบันมีการบังคับโทษประหารชีวิตมาแล้ว จำนวน 325 ราย โดยแยกเป็น
1. การใช้อาวุธปืนยิงจำนวน 319 ราย (ยิงรายสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2546)
2. การฉีดยาสารพิษ จำนวน 6 ราย (ฉีดสารพิษครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2546 และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552) การประหารชีวิต ถือเป็นบทลงโทษทางอาญาที่หนักที่สุดตามกฎหมายไทย ซึ่งมีโทษ 5 อย่าง คือ ปรับ ริบทรัพย์สิน กักขัง จำคุก และประหารชีวิต แม้หลายประเทศได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้วก็ตามแต่ก็มีอีหลายประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่เช่นเดียวกับประเทศไทย อาทิเช่น สหรัฐอเมริกา และจีนซึ่งเน้นการปกป้องสังคมและพลเมืองส่วนใหญ่ให้พ้นจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมมากกว่าเน้นสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย กรมราชทัณฑ์ หวังว่าการประหารชีวิตในครั้งนี้ จะเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้ที่คิดจะก่ออาชญากรรมร้ายแรงหรือกระทำผิดกฎหมายได้ยั้งคิดถึงบทลงโทษนี้

พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า วันนี้ (18 มิ.ย.) เมื่อเวลา 15.00 – 18.00 นาฬิกา กรมราชทัณฑ์ ได้ดำเนินการบังคับโทษตามคำพิพากษาของศาลด้วยการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดชายธีรศักดิ์ หลงจิ อายุ 26 ปี ผู้ต้องขังในคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณโหดร้ายเพื่อชิงทรัพย์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 เหตุเกิดที่จังหวัดตรัง โดยนักโทษเด็ดขาดดังกล่าวได้ทำร้ายและบังคับให้เอาทรัพย์สิน คือ โทรศัพท์มือถือ และกระเป๋าสตางค์ รวมทั้งใช้มีดแทงผู้ตาย รวม 24 แผล เป็นเหตุให้เหยื่อถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้น พิพากษาประหารชีวิตศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาพิพากษายืนเป็นผลให้คดีถึงที่สุด

สำหรับการบังคับโทษประหารชีวิตดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 ประกอบมาตรา 19 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประหารชีวิตนักโทษ พ.ศ.2546 ซึ่งกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีการฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย นับเป็นผู้ต้องขังรายที่ 7 นับแต่มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546 ซึ่งเปลี่ยนวิธีการบังคับโทษประหารชีวิตจากการยิงเสียให้ตายเป็นการฉีดสารพิษ

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 จนถึงปัจจุบัน มีการบังคับโทษประหารชีวิตมาแล้ว จำนวน 325 ราย โดยแบ่งเป็นการใช้อาวุธปืนยิง จำนวน 319 ราย รายสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2546 โดยการฉีดยาสารพิษ จำนวน 6 ราย ครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2546 และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552 ดังนั้นนักโทษรายนี้จึงถือเป็นนักโทษเด็ดขาดรายแรกในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ การประหารชีวิต ถือเป็นบทลงโทษทางอาญาที่หนักที่สุดตามกฎหมายไทย ซึ่งมีโทษ 5 อย่าง คือ ปรับ ริบทรัพย์สิน กักขัง จำคุก และประหารชีวิต แม้หลายประเทศได้ยกเลิกโทษประหาชีวิตไปแล้วก็ตาม แต่ก็มีอีหลายประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่เช่นเดียวกับประเทศไทย อาทิเช่น สหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งเน้นการปกป้องสังคมและพลเมืองส่วนใหญ่ให้พ้นจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมมากกว่าเน้นสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย กรมราชทัณฑ์ หวังว่าการประหารชีวิตในครั้งนี้ จะเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้ที่คิดจะก่ออาชญากรรมร้ายแรงหรือกระทำผิดกฎหมายได้ยั้งคิดถึงบทลงโทษนี้

อย่างไรก็ตาม เคยมีการรณรงค์ยกเลิกโทษประหารในประเทศไทย และไทยเคยลงนามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนไว้ ซึ่งระบุว่า หากครบ 10 ปี ยังไม่มีการประหารชีวิตเกิดขึ้นภายในประเทศ ให้ถือว่าโทษประหารในประเทศไทยถูกยกเลิกไป ดังนั้นจึงเป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง

สำหรับคดีฆาตกรรมโหดที่ทำให้คนร้ายถูกประหารชีวิตในครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ก.ค.2555 เวลาเย็น ในสวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ 95 (เขาแปะช้อย) เขตเทศบาลนครตรัง โดยนายดนุเดช สุขมาก อายุ 17 ปี นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษมูลนิธิ โรงเรียนเอกชนชื่อดังของจังหวัดตรัง ถูกชายวัยรุ่น 2 คนใช้มีดปลายแหลมไล่แทงมาจากหน้าโรงเรียนบูรณะรำลึก ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 200 เมตร จึงวิ่งหนีตายเข้าไปภายในสวนสาธารณะดังกล่าว ระหว่างนั้นแฟนสาวของนายดนุเดช พยายามเข้าช่วยเหลือ แต่ชายวัยรุ่นคนหนึ่งกำลังอยู่ในอาการมึนเมาไม่ฟังเสียง และกระหน่ำแทงจนนายดนุเดชล้มลงจมกองเลือด หลังจากนั้นคนร้ายได้ล้วงเอากระเป๋าสตางค์ซึ่งมีเงินสดประมาณ 2,000 บาท และโทรศัพท์มือหลบหนีไป

เจ้าหน้าที่ตำรวจสอบปากคำพยานแวดล้อมจนทราบว่าคนร้ายที่ลงมือแทงนายดนุเดชคือ นายธีรศักดิ์ หรือ มิ๊ก หลงจิ อายุ 19 ปี(ขณะนั้น) อยู่บ้านเลขที่ 175 หมู่ 7 ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง ซึ่งมีประวัติอาชญากรรมโชกโชน จึงรวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติหมายจับจากศาลจังหวัดตรัง แล้วเข้าจับกุมนายธีรศักดิ์ ได้ที่หน้าวิทยาลัยเทคนิคตรัง พร้อมมีดปลายแหลมที่ใช้แทงนายดนุเดช

ทั้งนี้ จากประวัติอาชญากรรม นายธีรศักดิ์ถูกจับมาแล้วหลายครั้ง ทั้งข้อหาเสพยาเสพติด ครอบครองกัญชา และอาวุธปืน ก่อนก่อคดีแทงนายดนุเดชเสียชีวิต ยังได้ก่อเหตุร่วมกันฆ่าผู้อื่นด้วย แม้นายธีรศักดิ์ให้การปฏิเสธ แต่ก็มีพยานมัดตัวแน่นหนา โดยเฉพาะมีดปลายแหลมที่ใช้ก่อเหตุ

นอกจากนี้ ยังพบว่า แก๊งของนายธีรศักดิ์มีพฤติกรรมรีดไถเงินหรือทรัพย์สินของเด็กนักเรียน มีสมาชิก 10 คน อาทิ นายทิชานนท์ คงเมือง อายุ 20 ปี(ขณะนั้น) เป็นหัวหน้าแก๊งบ้านโพธิ์ ถูกจับกุมคดีใช้อาวุธปืนยิง นายฉันทภาพ ช่วยสุวรรณ อายุ 18 ปี จนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2555 และเพื่อนของนายธีรศักดิ์ ก็เป็นหัวหน้าแก๊งบ้านโคกพลารีดไถเด็กนักเรียนอีกด้วย

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.