มุมมอง “พร้อมเพย์” ปฎิรูประบบชำระเงินใหม่

0
3371

ความก้าวหน้าเรื่องหนึ่งทางการเงิน การคลัง คือแนวทางการทำ National E-Payment ที่เริ่มต้นด้วยการ

ให้ประชาชนผูกเลขบัตรประชาชน เลขที่มีจุดเด่นแสดงตัวตนเลขเดียวของคนทุกคนในประเทศ พ่วงกับ เบอร์โทรศัพท์มือถือแบบลงทะเบียน และเลขบัญชีธนาคารหลัก สิ่งนี้เรียกว่า Any ID หรือ “ไอดีอะไรก็ได้” ชื่อไทยที่ทางราชการตั้งมาคือ “นานานาม”

15 กรกฎาคมนี้ จะเปิดให้ประชาชนทุกคนไปสมัคร Any ID หรือ บริการ “พร้อมเพย์” ที่ธนาคารทุกแห่งทั่วประเทศหลักๆ ก็ให้นำเบอร์มือถือที่จดทะเบียน ระบุการจดทะเบียนเป็นเบอร์แบบรายเดือน และบัตรประชาชนไปที่ธนาคารที่เรามีบัญชีอยู่แล้ว หรือเปิดบัญชีใหม่ แต่เพื่อความสะดวกสุดส่วนใหญ่ก็คงเป็นบัญชีที่มีการเบิกถอนจ่าย
ในชีวิตประจำวัน หรืออาจเป็นบัญชีเงินเดือนนั่นเองด้านตัวแทนจากแบงก์ชาติ คุณทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวเปิดตัวบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่ “พร้อมเพย์–PromptPay” ชื่อใหม่ของ “Any ID” ไว้ว่า…“หัวใจสำคัญของบริการพร้อมเพย์คือบริการที่จะทำให้ใครๆ ก็โอนเงินมาให้เราได้ โดยไม่ต้องถามเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ช่วยเพิ่มความสะดวกด้วยการจัดให้มีระบบข้อมูลกลาง หรือ “ถังข้อมูล” เชื่อมเลขบัญชีเงินของทุกธนาคาร, หมายเลขโทรศัพท์มือถือ และเลขประจำตัวประชาชนไว้ด้วยกัน และต่อไปหากจะโอนเงินให้ใครจะสามารถใช้ 2 หมายเลขนี้ในการอ้างอิงแทนได้ ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าผู้รับเงินจะใช้บัญชีเงินฝากของธนาคารใด ทั้งนี้ เลขที่บัญชีเงินฝากยังคงใช้โอนเงินได้ตามปกติ”สิ่งแรกที่ผู้ใช้บริการต้องทำคือ เลือกบัญชีเงินฝากที่ต้องการจะใช้เป็นบัญชีหลักในการรับเงินหลัก โดยต้องเตรียมเอกสาร 3 อย่างเพื่อประกอบการลงทะเบียน 1) สมุดบัญชีหรือเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร 2) บัตรประจำตัวประชาชน และ 3) โทรศัพท์มือถือที่ท่านต้องการลงทะเบียน หลังจากนั้นจึงไปแจ้งลงทะเบียนกับธนาคาร โดยสามารถใช้ช่องทางบริการ เช่น ATM, Internet Banking หรือ Mobile Banking หรือไปที่สาขาธนาคารเจ้าของบัญชีที่สะดวกก็ได้

ทั้งนี้ ระบบข้อมูลกลางจะพร้อมให้บริการลงทะเบียนสำหรับทุกธนาคารได้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี ธนาคารที่มีความพร้อมสามารถเปิดให้ลงทะเบียนก่อนกำหนดได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 และประชาชนสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผูกบัญชีได้ตลอดเวลา โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนดไว้ ซึ่งภายหลังธนาคารได้ข้อมูลการลงทะเบียน ก็จะนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดระเบียบและใส่เข้าไปยังระบบข้อมูลกลางต่อไป“เลขหมายหนึ่งเลขหมายใช้ผูกหรือจับคู่กับบัญชีเงินฝากปลายทางได้เพียงหนึ่งบัญชี คือสามารถเลือกให้ทั้งหมายเลขโทรศัพท์มือถือและหมายเลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีเงินฝากบัญชีเดียวเท่านั้น หรืออาจจะแยกให้แต่ละหมายเลขไปผูกกับบัญชีเงินฝากบัญชีละ 1 หมายเลขก็ได้ แต่หมายเลขบัตรประชาชนจะเป็นหมายเลขหลักที่ใช้สำหรับการโอนเงินสวัสดิการต่างๆ หรือคืนเงินภาษีจากภาครัฐ”

ประเด็นความสะดวกคล่องตัวของประชาชนในชั้นแรกแล้ว จุดประสงค์ระยะยาว คือการลดคอร์รัปชัน ตรวจสอบร่องรอยได้ และเป็นส่วนตัวนอกจากจะทำให้ต้นทุนของประเทศลดลง ไม่มีการบิดเบือน และเพิ่มการแข่งขันธนาคาร ให้ระบบมีประสิทธิภาพแล้ว อีกประเด็นหนึ่งคือ ระบบนี้จะแก้ไขปัญหาเรื่องคอร์รัปชัน เพราะถ้ามันหมดเงินสดไปเมื่อไร ใครแบกเงินสดมาที่ธนาคาร เราจะต้องถามแล้วว่า เงินนี้ได้แต่ใดมา เป็นเงินน่าสงสัยทันที ถ้าไม่มีคนใช้เงินสด มันไม่ควรจะแบกมาอีกแล้วนอกจากนี้ยังมีคำสัมภาษณ์ของ ดร.อนุชิต อนุชิตากูล จากธนาคารเกียรตินาคิน ให้ข้อมูลไว้เช่นเดียวกันว่า

“เงินที่อยู่ในระบบจะทิ้งร่องรอยเสมอ ไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะไปก้าวก่ายเรื่องส่วนบุคคล มันต้องบันทึกไว้ก่อน กรณีที่เกิดปัญหาขึ้นมาจะต้องตรวจสอบได้ ถ้าไม่มี มันจะตรวจสอบไม่ได้เลย ดังนั้น รายการทุกอย่างของธนาคาร ธปท.ก็ตรวจ คือทุกอย่างต้องมีร่องรอย มี Audit Trail พิสูจน์ได้ว่ามันมาอย่างไร แล้วจริงๆ กฎหมายมีอยู่แล้วของสำนักงานป้องกันและปรามปราบการฟอกเงิน (ปปง.) เงินที่เคลื่อนไหวถูกรายงานอยู่แล้ว มีไว้เพื่ออะไร ไม่ใช่กลั่นแกล้ง แต่ไว้แก้ปัญหาในประเทศ เงินค้ายา เงินก่อการร้าย พวกหลอกให้โอนเงิน ถ้าไม่มีพวกนี้ เราจะตามจับอย่างไร จะปราบอย่างไร ตรงนี้ ปปง. ก็จะมีวิธีตรวจสอบว่า อันไหนน่าสงสัย จะอายัดหรือไม่”

ในมุมทางภาครัฐ ประชาชนทุกคนจะเริ่มเข้าสู่ฐานข้อมูลเชิงระบบมากยิ่งขึ้น เมื่อทั้ง 65 ล้านคน มีการพ่วง เลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร และเลขมือถือเอาไว้ รัฐเมื่อจ่ายเงินจากโครงการหรือนโยบายใดก็แล้วแต่ให้แก่ประชาชน รัฐจะทราบได้ทันทีว่าจะ “จ่ายตรงถึงมือประชาชน” ได้อย่างไร คราวนี้ก็จะไม่ผ่านคนกลาง หน่วยงาน
กรม กอง ต่างๆ ก็จะไม่มีการรั่วไหล ชักหัวคิว แบบในอดีตอีกจากนี้จะเป็นการต่อยอดไปในทางการจัดเก็บข้อมูลรายได้รายจ่ายของ ประชาชนได้อย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพราะทุกๆ รายได้ของประชาชนคนใดก็จะถูกโยงเชื่อมเข้ากับระบบของสรรพากร ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่า มีรายได้จริงต่อปีเท่าไหร่ มีรายจ่ายจริงต่อปีอย่างไร การหลีกเลี่ยง หนีภาษี หรือทำธุรกิจใต้ดินก็จะกระทำได้ยากมากยิ่งขึ้น

 

 

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.