ปิ้ง!!!… แต่งตั้งโยกย้ายตร. ความสามารถนำอาวุโส โละวิธีตั้งผบ.ตร.ดันสูตรใหม่! 33-33-34

0
940

โละวิธีตั้ง ผบ.ตร.

กก.ปฏิรูป ตร.ดันสูตรแต่งตั้งโยกย้าย ใช้ความสามารถ 67% อาวุโส 33% ให้อำนาจ ก.ตร.แทน ก.ต.ช. พร้อมมอบอำนาจผู้บัญชาการภาคตั้งตำรวจในพื้นที่เต็มที่

ที่รัฐสภา

“นายสมคิด เลิศไพฑูรย์” โฆษกคณะกรรมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) แถลงผลการประชุมว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการแต่ละชุดได้ทยอยเสนอความเห็นมายังที่ประชุมคณะกรรมการ ซึ่งมีหลายเรื่องที่น่าสนใจ ดังนี้ 1.คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มี พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ เป็นประธาน ได้กำหนดวันรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 สิงหาคม ที่ กทม. วันที่ 31 สิงหาคม ที่ จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 7 กันยายน ที่ จ.ลำปาง และวันที่ 20 กันยายน ที่ จ.ขอนแก่น

      “นายสมคิด”กล่าวว่า 2.คณะอนุกรรมการโครงสร้างอำนาจหน้าที่ที่มีนายมนุชญ์ วัฒนโกเมร ได้เสนอความเห็นในสองเรื่องด้วยกัน คือ เรื่องที่หนึ่ง การสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) โดยเสนอให้ ตร.ยังคงอยู่ภายใต้สังกัดของนายกรัฐมนตรีต่อไปตามปัจจุบัน สาเหตุที่ให้ ตร.ยังคงขึ้นกับนายกฯนั้น คณะอนุกรรมการให้ความเห็นว่าเรื่องตำรวจเป็นเรื่องสำคัญ จึงควรให้นายกฯเข้ามาดูแลเรื่องนี้ หากให้ ตร.ไปอยู่ตามกระทรวงอาจส่งผลให้ถูกแทรกแซงในหลายระดับ ดังนั้น การให้ ตร.อยู่กับนายกฯน่าจะดีที่สุด และเรื่องที่สอง ได้เสนอว่าควรจะกระจายอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ไปยังภาค หมายความว่า อยากให้ภาคมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการบริหารบุคคลและงบประมาณ

         เรื่องบริหารบุคคล หมายความว่าปัจจุบัน ผบ.ตร.เป็นผู้ตัดสินใจโยกย้ายตำรวจทุกตำแหน่งไม่เฉพาะที่กรุงเทพฯแต่รวมไปถึงตำรวจภาคทั้งหลาย ดังนั้น คณะอนุกรรมการได้เสนอว่าควรให้ผู้บัญชาการภาคดูแลในเรื่องดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับคณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคลของ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ในอนาคต ผบ.ตร.จะดูแลระดับสูงขึ้นมากว่าภาคตั้งแต่รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จเรตำรวจ และผู้บัญชาการทั้งหลาย แต่ต่ำลงไปกว่านั้นจะให้แต่ละภาคดูแลเอง” นายสมคิด กล่าวว่า

 3.คณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล เสนอต่อที่ประชุมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งโยกย้าย ผบ.ตร. รอง ผบ.ตร. และตำแหน่งผู้บัญชาการภาค ได้แก่ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น จะให้พิจารณาจากความรู้ความสามารถ 67% และระดับอาวุโส 33% ซึ่งในกรณีของการพิจารณาจากความรู้ความสามารถ 67% นั้นแบ่งเป็นการพิจารณาจากความรู้ความสามารถโดยแท้ 33% เช่น ตำรวจที่ได้รับรางวัลดีเด่น จะต้องได้รับการพิจาณา และอีก 34% จะพิจารณาจากความรู้ความสามารถทั่วไป ซึ่งเรียกว่าเป็น 33-33-34 ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะพิจารณาต่อไป

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.