ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับภารกิจรับมือยุคดิจิตอล

0
2371

โดย นิค ลิม รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียเซาธ์ บริษัทซีเอ เทคโนโลยี

ปี 2016 นี้ เป็นปีที่คาดว่าจะเป็นปีแห่งจุดเปลี่ยนสำคัญของชาติอาเซียน ที่มีไทยเป็นสมาชิกโดยเฉพาะการตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือAEC ซึ่งเป็น หลักกิโลเมตรสำคัญ ของการไปสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคครั้งยิ่งใหญ่ และโดยทั้งนี้คาดการณ์ว่าภายในปี 2020 ที่จะถึงนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ของบรรดาชาติอาเซียนทั้งหมด จะเติบโตไปอยู่ที่ 4.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยภูมิภาคนี้รวมกันทุกชาติมีศักยภาพพอที่จะกลายเป็นระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ภายในปี 2030
นอกเหนือจากข้อตกลง ด้านการค้าเสรีที่มีแล้ว ผลของการรวมเศรษฐกิจในระดับลึกขึ้นจะช่วยเปิดช่องทางใหม่ๆให้ธุรกิจต่างๆสามารถเข้าถึงตลาดที่ใหญ่ขึ้น และมีจำนวนผู้บริโภคมากกว่า 600 ล้านคน

***ต้องเปิดรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล***
ทิศทางใหม่ๆของโลกดิจิตอลอย่าง บิ๊กดาต้า Internet of Things คอมพิวเตอร์ระบบคลาวด์ โซเชี่ยลมีเดีย และโมไบลอินเทอร์เน็ต กำลังเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าธุรกิจไปอย่างสิ้นเชิงรวมทั้งกำหนดขอบเขต ของแต่ละบริษัทองค์กรธุรกิจได้ยากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีของระบบดิจิตอลทั้งหมดนี้มีศักยภาพที่จะสร้าง และผลักดันการเติบโตทางการค้าและเศรษฐกิจสำหรับชาติต่างๆในAEC อย่างมากมาย

***ระบบโมไบล์ คือตัวเร่งสำคัญ***
สำหรับทุกวันนี้ โลกของเรา กำลังบ่ายหน้าไปสู่เทคโนโลยีเครือข่ายโมไบล์ความเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ และสมาร์ทโฟนโดยเริ่มเห็นผลแล้วในหลายประเทศและหลายตลาด ส่งผลช่วยให้ธุรกิจต่างๆสามารถประหยัดต้นทุนและเวลา รวมทั้งเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ ที่น่าสนใจก็คือภายในช่วง 4 ปีข้างหน้าคาดการณ์ว่าจะมี 70% ของผู้คนในโลกของเรา จะใช้งานเทคโนโลยีโมไบล์ระดับสูงและ พื้นที่ 90 เปอร์เซ็นต์ของโลกจะครอบคลุมด้วยเครือข่ายบริการอินเทอร์เน็ตโมไบล์แบบบรอดแบนด์ความเร็วสูง
สำหรับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น มีอัตราการใช้อุปกรณ์โมไบล์และยูสเซอร์ที่ใช้งานสมาร์ทโฟนสูงมาก และจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 2 เท่าภายในปี 2020 โดยจะมีจำนวน มากถึง 6.1 พันล้านราย และเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของยูสเซอร์รายใหม่ จะมาจาก เอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยรายงานการศึกษาของ GSMA Intelligence ระบุว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นจะเพิ่มจำนวนการใช้งานสมาร์ทโฟนจนเกือบถึงยอด 1.7 พันล้านเครื่อง ภายในปี 2020 โดยคิดเป็นมากกว่าครึ่ง ของจำนวนที่ใช้กันทั่วโลก โดยตลาดที่เกิดใหม่อย่างชาติประชาคมอาเซียนจะเป็นตัวผลักดันที่สำคัญของการเติบโตนี้

***ผลกระทบที่สำคัญจาก กลุ่ม Gen-M หรือ Millennial Generation***
กลุ่ม Gen-M หรือ Millennial Generation ได้เติบโตมา และคุ้นเคยกับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิตอลที่กำลังส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทั้งที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบันและคนกลุ่มนี้จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันต่อไป โดยเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่สำคัญพบว่า ในอนาคตจะมีประชากรมากกว่า 50 ล้านคนจากภูมิภาคอาเซียนจะเข้าสู่ตลาดแรงงานภายในช่วงปี 2010 ถึง 2020

นอกจากนี้ถ้าดูการคาดการณ์ของ องค์กรแรงงานสากล (International Labour Organization – ILO) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank – ADB),ซึ่งระบุว่า ภายในปี 2025 การรวมเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้จะเพิ่มGDPให้สูงขึ้น 7 เปอร์เซ็นต์ และแรงงานต่างๆ ในระบบจะเป็นพวกกลุ่ม Gen-M หรือ Millennial Generation ที่เป็นเจเนอเรชั่นแรกของโลกที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิตอลอย่างแท้จริง

***ระบบเศรษฐกิจยุคแอพพลิเคชั่น เปลี่ยนผ่านระบบดิจิตอลสู่โลกใบใหม่***
ในโลกปัจจุบันระบบเศรษฐกิจ แอพพลิเคชั่น ได้กลายสภาพกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงทั้งสำหรับภาคธุรกิจและผู้บริโภค โดยทุกธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงตัวเองสู่ธุรกิจดิจิตอลไม่มากก็น้อย
ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกขับเคลื่อนด้วย ระบบโมไบล์และ แอพพลิเคชั่น ไม่ว่าจะเป็นการค้าปลีก ข่าวสารข้อมูล โลกบันเทิง การเงินการธนาคาร การศึกษา งานบริการสาธารณะภาครัฐ และการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นในทุกวันนี้ก็คือ ลูกค้าแต่ละรายมีแนวโน้มที่จะผ่านประสบการณ์การติดต่อกับแบรนด์ของสินค้าแต่ละอย่าง มีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรธุรกิจผ่านซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชั่น มากกว่าจะได้ติดต่อกับพนักงานที่เป็นบุคคลจริงๆ
องค์กรธุรกิจต่างๆ ต่างเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้นเรื่อยๆรวมทั้งการติดต่อสื่อสาร เพื่อเปลี่ยนแปลงแง่มุมธุรกิจสำคัญๆ ของตน ให้มีความพร้อม สำหรับการก้าวสู่ยุคดิจิตอลต่อไป

***หาจุดเชื่อมต่อที่ลงตัว***
แอพพลิเคชั่นที่ใช้งานทั้งเดสก์ท็อปและโมไบล์ ได้กลายมาเป็นสมรภูมิใหม่ของการช่วงชิงแบรนด์ลอยัลตี้ ในภูมิภาคนี้ ส่งผลให้ บริษัทและองค์กรใดที่ ไม่สามารถนำเสนอ ประสบการณ์การใช้งาน แอพพลิเคชั่นที่ดีได้ ก็ต้องเสี่ยงกับการสูญเสียฐานลูกค้า ไปอย่างน้อย 1 ใน 3 จากที่เคยมีความภักดีต่อแบรนด์เป็นเรื่องสำคัญและจะทำสำเร็จอยู่เมื่อหรือไม่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้บริโภค และตัวแปรต่างๆในการใช้งานอย่างเช่น การโหลดได้เร็ว ฟังก์ชั่นการใช้งานง่าย มีการยืนยันมั่นใจเรื่องการรักษาความปลอดภัย เรื่องทั้งหมดนี้ต่างมีส่วนสำคัญทั้งสิ้น
ตัวแอปพลิเคชันต่างๆจะเริ่มกลายมาเป็นช่องทางหลักสำหรับผู้บริโภคในการติดต่อกับตัวธุรกิจ และสิ่งที่สร้างความแตกต่างได้สำคัญอย่างแท้จริงก็คือการสร้างแอพพลิเคชั่น ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล มีระบบการรักษาความปลอดภัย ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีรวมทั้งต้องมีรูปแบบที่สะดวกและใช้งานง่าย
ชาติประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่มีช่องทางการเข้าถึงตลาดครองผู้บริโภคกว่า 630 ล้าน รายจะเปิดโอกาส อย่างดีในทางธุรกิจ ซึ่งตรงนี้ จะส่งผลให้มีการแข่งขันในระดับภูมิภาคมากขึ้น รวมทั้งความจำเป็นที่จะต้องเข้าถึงตลาดที่มีประชากรมากกว่าครึ่งมีอายุน้อยกว่า 30 ปี ที่มีความอดทนน้อยมาก หรือไม่มีความอดทนเลยต่อความล่าช้าหรือเวลาดาวน์ไทม์ของระบบ ในการที่เข้าถึงแต่ละแบรนด์สินค้าผ่านแอพพ์

***ก้าวไปสู่ทิศทาง เส้นทางที่ถูกต้อง***
การเน้นซอฟต์แวร์ได้กลายมาเป็นเงื่อนไขอย่างแรกที่จำเป็นสำหรับบริษัทระดับเอนเทอร์ไพรซ์ทุกวันนี้ ที่จะรับมือกับสถานการณ์ทางธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บริษัทรายใดที่สามารถนำเสนอ แอพพลิเคชั่น ที่มีคุณภาพสูงมีการรักษาความปลอดภัยที่ดี ออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าคู่แข่งรายอื่น จะสร้างสถานะโดดเด่นขึ้นมาในตลาดชาติAEC ในที่สุด

การหันมาใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่น ไม่ได้เป็นแค่เฉพาะเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่คือวัฒนธรรมองค์กรในการดำเนินธุรกิจโดยตรง ความคิดของการบริหารที่ยืดหยุ่น จะถูกนำมาใช้ช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลสำหรับบริษัทต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรม โดยแนวคิดนี้จะเป็นวิธีการที่รวดเร็ว ในการเชื่อมแนวคิด วิธีการของทีมที่พร้อมบริหารจัดการอย่างยืดหยุ่นเข้ากับตัวธุรกิจ เพื่อให้การจัดการสามารถสร้างผลได้จากการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และมุมมองที่จำเป็น ในการตัดสินใจรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ในสถานการณ์ที่ AEC กำลังเริ่มต้นขึ้น ถึงแม้จะมีโอกาสใหม่ๆ แต่ยังหมายถึงการแข่งขันใหม่ที่มีมาด้วย บริษัทธุรกิจที่พร้อมปรับตัว จะมีข้อได้เปรียบเชิงแข่งขันเหนือกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคเศรษฐกิจ แอพพลิเคชั่นอย่างในปัจจุบัน

การเน้นความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจจะช่วยให้บริษัทเอนเทอร์ไพรซ์มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ในเรื่องการนำเสนอประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่า สำหรับยูสเซอร์และขีดความสามารถในการดำเนินงาน ภายใต้วิธีการที่พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนดัดแปลง และก้าวสู่เส้นทางใหม่ในตลาด

สำหรับตลาดที่เล็กกว่า ภาคธุรกิจบางส่วนอาจจะเริ่มเห็น กระแสของการแข่งขันของผู้เล่นแต่ละลาย เกิดขึ้นกับตนในระดับท้องถิ่นแล้ว ดังนั้นในยุคที่เศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นกำลังจะมีบทบาทสำคัญ ในหมู่ชาติAEC จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกธุรกิจจะต้องปรับตัวมาใช้ โมเดลธุรกิจที่เน้นการใช้ซอฟต์แวร์รวมทั้งการบริหารจัดการอย่างยืดหยุ่นเพื่อที่จะอยู่รอดและเติบโตได้ในวันข้างหน้า

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.