กรมประมง พบอียู ถกปัญหาประมงผิดกฏหมาย

0
1330

18 เม.ย.59 นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าในช่วงเดือนพ.ค.นี้ คณะของกรมประมงและศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) จะเดินทาง ไปพบกับสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ถึงความตั้งใจของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาการประมงไร้การควบคุม (ไอยูยู ) ซึ่งไปรายงานถึงทางการไทยมีความคืบหน้าในการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาประมงแห่งชาติปี 2558 โดยเริ่มบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดตั้งแต่ 14 พ.ย.58

ทั้งนี้ มีการออกใบอนุญาตการทำประมงในระบบใหม่ทุก 2 ปี การตรวจสอบย้อนกลับแหล่งทำประมง การติดตั้งระบบติดตามควบคุมเรือประมงพาณิชย์ หรือระบบวีเอ็มเอสโดยมีโทษแรงขึ้นในคดีทำผิดใบอนุญาตใหม่ หรือไม่มีใบอนุญาต ปรับตั้งแต่สองแสนบาท ขนาดเรือ 20-30 ตันกรอส หากเรือขนาด 60-150 ตันกรอสปรับ 6แสนถึง6 ล้านบาท ถ้า มากกกว่า 150 ตันกรอส ปรับ 6- 30 ล้าน หรือ 5 เท่ามูลค่าสัตว์น้ำบนเรือ ถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าปรับขึ้นกับการตัดสินของศาล มีโทษจำคุกหรือทั้งจำทั้งปรับ

“โดย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรฯให้นโยบายว่าเป็นเรื่องสำคัญที่การประมงไทยจะต้องดำเนินการกฎหมายประมงใหม่ ติดตั้งระบบวีเอ็มเอส บังคับใช้กฎหมาย ตามระบบข้อเสนอของอียู ให้ดำเนินการเป็นรูปธรรม อย่างมีแผนงาน ซึ่งท่านตามงานทุกสัปดาห์ ท่านมีความตั้งใจมากให้ทุกหน่วยงานบูรณาการแก้ไขปัญหาประมง ให้เกิดความยั่งยืน การใช้กฎหมายเพื่อป้องปรามเพื่อไม่ให้เรือประมงละเลยกฎหมายมากกว่าการลงโทษ ส่วนไปอียูเพื่อรายงานว่าเราทำทุกขั้นตอนในส่วนของกฎหมายไทยอย่างเต็มที่ ตามแผนของไอยูยู และข้อสังเกต ข้อเสนอแนะต่างๆ

เรือประมงพาณิชย์ ได้รับใบอนุญาตสามารถทำได้  11,237 ลำ ให้เรือแต่ละประเภท มีทั้งการจับปลาหน้าดิน ปลาผิวน้ำ ปลากระตัก มีขนาดตั้งแต่ 10 ตันกรอส ในข้อกำหนดให้จับปลาได้ 220 วันต่อปี ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน และเรือประมงขนาด30 ตันกรอส ขึ้นไปต้องติดระบบวีเอ็มเอสทั้งหมด พร้อมกับยกเลิกเรือประมง ชักธงสองสัญชาติผิดกฎหมายชัดเจน ต้องชักธงประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ป้องกันเรือประมงเถื่อนไปทำผิดกฎหมายที่อื่นแอบมาเข้าท่าเรือไทย” นายวิมล กล่าว

นายวิมล กล่าวว่าการจัดสรรสัตว์น้ำจะเกิดความยั่งยืนมีสัตว์น้ำให้ชาวประมงมีอาชีพอยู่ได้ ไม่หมดไป คิดคำนวนจากฐานทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเล กำหนดเขตพื้นที่ อัตราการเจริญเติบโต เพื่อควบคุมไม่ให้ทำการประมงเกินศักยภาพของสัตว์น้ำในทะเลไทย ในส่วนเรือประมงพื้นบ้าน ยังไม่เข้าสู่การกระบวนการขอใบอนุญาตอยู่ในช่วงยกเว้นสามารถทำประมงได้ตลอดปีแต่ห้ามเครื่องมือทำลายล้าง 8 ชนิด เช่น อวนลาก อวนล้อม อวนรุน เครื่องครอบ ช้อน ตัก ที่มีตาถี่ขนาดเล็กกว่าตัวอ่อนสัตว์น้ำ ขณะนี้ให้คณะกรรมการประมงระดับจังหวัด เป็นผู้กำหนด จัดระเบียบเรือ จัดสรรทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องถิ่น แล้วส่งมาให้คณะกรรมการประมงแห่งชาติ พิจารณาอีกครั้ง

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.