เผย….พิธีกรรมเดียวในไทย! “มโนราห์สองภาษา” การสืบเชื้อสายของลูกหลาน”มโนราห์ไทยพุทธ-มุสลิม”

0
561

    ยะลา – แห่งเดียวในประเทศไทย! เริ่มแล้วพิธีกรรม “มโนราห์สองภาษา”

ที่บ้านของ ผญบ.ในบ้านซาเมาะ ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เชื่อเป็นการสืบเชื้อสายของลูกหลานมโนราห์ทั้งไทยพุทธ และมุสลิม

จังหวัดยะลา  บริเวณบ้านของ นายประสิทธิ์ เพชรเชิงเขา ผู้ใหญ่บ้าน ม.4 บ้านซาเมาะ ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา ซึ่งเป็นประจำทุกปีที่จะมีการรวมตัวกันของลูกหลานเชื้อสายมโนราห์ เพื่อทำพิธีรำลึกถึงบรรพบุรุษ “ครูหมอมโนราห์” ตามความเชื่อ และความศรัทธาของลูกหลานที่สืบเชื้อสายกันมาหลายปี

ในปีนี้ก็เช่นกัน ได้มีกำหนดการทำพิธี “มโนราห์สองภาษา” และพิธี “มโนราห์โรงครู” ในวันที่ 10-12 สิงหาคม 2560 ที่บ้านของผู้ใหญ่บ้านประสิทธิ์ เพชรเชิงเขา โดยจะมีลูกหลานเชื้อสายมโนราห์ในพื้นที่ จ.ยะลา ปัตตานี และ จ.นราธิวาส ทั้งผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นเชื้อสายมโนราห์ ได้เดินทางมาพบปะกัน เพื่อร่วมกันประกอบพิธีเหมือนในทุกๆ ปี
 

แห่งเดียวในไทย! พิธีกรรม “มโนราห์สองภาษา” การสืบเชื้อสายของลูกหลานมโนราห์ไทยพุทธ-มุสลิม

ซึ่งในค่ำคืนของวันแรกนั้น มีการทำพิธีเปิดโรงมโนราห์ บอกกล่าวบรรพบุรุษ ปู่ย่าตาทวดที่ล่วงลับไปแล้ว การขอขมาเจ้าที่เจ้าทาง และพิธีอัญเชิญบรรพบุรุษเชื้อสายมโนราห์ ทั้งปู่ย่า ตาทวด มาร่วมพิธีตามความเชื่อของลูกหลาน ก่อนที่จะมีการร้องรำ ขับบทกลอนมโนราห์ ทั้งภาษาไทย และภาษายาวี

ความเป็นมาของ “มโนราห์สองภาษา” นั้น สืบเนื่องจากบรรดาเหล่าลูกหลานที่มีเชื้อสายมโนราห์ ทั้งที่เป็นชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จำเป็นที่จะต้องประกอบพิธีมโนราห์โรงครู เพื่อรำลึกบรรพบุรุษผู้สืบทอดเชื้อสายต่อมายังลูกหลาน การประกอบเครื่องเซ่นไหว้ครูหมอมโนราห์ และการร้องรำ ขับกล่อมบทกลอน สุดท้ายก็จะเป็นพิธีเข้าทรง เพื่อให้การรักษาผู้ป่วย ตามความเชื่อ และความศรัทธา โดยที่ผ่านมา ก็จะมีผู้ที่สนใจ ซึ่งมีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย และทางจิต เข้ารับการรักษาจนมีอาการดีขึ้น และต้องมาร่วมชุมนุมประกอบพิธีมโนราห์โรงครู ณ ที่นี่เป็นประจำในทุกปี

แห่งเดียวในไทย! พิธีกรรม “มโนราห์สองภาษา” การสืบเชื้อสายของลูกหลานมโนราห์ไทยพุทธ-มุสลิม

 “มโนราห์สองภาษา” จะมีการผสมผสานศิลปะการแสดง ทั้งมโนราห์ และมะโหย่ง ดั่งจะเห็นได้จากการแต่งกาย พิธีกรรม จะเป็นลักษณะของมโนราห์ ซึ่งเป็นศิลปะการการแสดงท้องถิ่นของภาคใต้ ส่วนดนตรี เครื่องบรรเลง ก็จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับมะโหย่ง หรือสีละ ของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และเมื่อทั้งสองอย่างมาร่วมกัน เพราะเชื้อสายมโนราห์ ก็ทำให้เกิดมโนราห์สองภาษา ที่หาชมได้ยากยิ่งในปัจจุบัน และมีเพียงที่แห่งนี้ที่เดียวในเมืองไทยเท่านั้น
รารา

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.